เมนู

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา
ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[87] 1. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
2. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกธรรม ที่เกิดภายหลัง และโมหะ เป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
3. สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่
อเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่
เกิดภายหลัง และโมหะ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของ
ปัจฉาชาตปัจจัย.

12. อาเสวนปัจจัย


[88] 1. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอาเสวนปัจจัย
เหมือนกับ อนันตรปัจจัย.
อาวัชชนะก็ดี ภวังค์ก็ดี ไม่มี ในอาเสวนปัจจัย พึงเว้นทั้ง 9 วาระ.

13. กัมมปัจจัย


[89] 1. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุก-
ธรรม ซึ่งเป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.